วันเสาร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2557

โครงงานการละเล่นพื้นบ้านไทย

บทที่ 1 บทนำ

ที่มาและความสำคัญ
    การละเล่นของไทยในสมัยก่อนนั้น มีวิธีการเล่นที่สนุกสนานและหลากหลาย การละเล่นของเด็กไทยในสมัยก่อน ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษหลายประเภท อาทิ เช่น รีรีข้าวสาร,หมากเก็บ และอีกมากมาย  บางประเภทก็มี บทร้อง ท่าทางประกอบ ข้อตกลงในการเล่นของแต่ละท้องถิ่น บางครั้งก็เล่นเพื่อการแข่งขัน และเล่นเพื่อความสนุกสนาน ซึ่งได้รับความบันเทิงเป็นอย่างมาก การละเล่นของไทยนี้ก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้คนไทยสมัยก่อนมีความสุข แต่ปัจจุบันสังคมมีการเปลี่ยนแปลงทำให้การละเล่นพื้นบ้านของไทยนั้นเลือนหายไป จึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายที่คนไทยสมัยนี้มีน้อยมากที่จะรู้ถึงวิธีการเล่น ดังนั้นเราควรสนใจเรื่องการละเล่นพื้นบ้านของไทย เพื่ออนุรักษ์และสืบทอด การละเล่นของไทยให้รู้จักกันแพร่หลายในสังคมไทยปัจจุบัน


  
http://t3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQgUcylgjzClPEscmRXRM30Yx-h_mVKONJ1bvilWa2LyiT12bv58q_8lkR7http://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSkDRe86ZUn_Q3o1VDbwQwXxi_o3jfmYbkjHiboFvaJX4yzl47p9gDGLOU


บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง

 การละเล่นพื้นบ้าน คือ การละเล่นที่แสดงเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่มีอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทยโดยสามารถแบ่งตาม
การละเล่นแต่ละภาค ดังนี้* การละเล่นภาคกลางและภาคตะวันออก


* การละเล่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน
* การละเล่นภาคเหนือ
* การละเล่นภาคใต้
ความแตกต่างของการละเล่นจะปรากฏใน ลักษณะ ท่าทางการร่ายรำ คำร้อง ดนตรี และการแต่งกาย การละเล่นเป็นกิจกรรมบันเทิงที่แฝงไว้ด้วยสัญลักษณ์ อันเนื่องด้วยวัฒนธรรมและประเพณี สะท้อนวิถีชีวิตและความเชื่อของสังคมที่สืบทอดมาแต่โบราณ การละเล่นบางอย่างของแต่ละภาคอาจได้รับอิทธิพลจากประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ ใกล้เคียงที่มีพรมแดนติดต่อหรือใกล้เคียงกันกัน เช่น ประเทศลาว กัมพูชา พม่า จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้น
ประวัติศาสตร์ได้มีการบันทึกว่า คนไทยมีการละเล่นมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จากความในศิลาจารึกสมัยสุโขทัยหลักที่ 1 กล่าวว่า “…ใครใคร่จักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน…” และในสมัยอยุธยา ก็ได้กล่าวถึงการแสดงเรื่อง มโนห์รา ไว้ในบทละครครั้ง กรุงเก่า ได้กล่าวถึงการละเล่นนั้นบทละครนั้น ได้แก่ ลิงชิงหลัก และปลาลง อวน ประเพณีและวัฒนธรรมสมัยก่อน มักสอดแทรกความสนุกสนานบันเทิงควบคู่กันไปกับการทำงาน ทั้งในชีวิตประจำวัน และเทศกาลงานบุญ ตามระยะเวลาแห่งฤดูกาล

ตัวอย่างของการละเล่นพื้นบ้านในแต่ละภาค

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEh-mEc1SRcAjxo_kXC9fpj-UXS3MalX5jQsrKkiqqEtKM5vgLITpTmlTS97R3pVIWgOTqv-97aBvB0IBQOPLMDhYrlU38tWqtHUWMbEq3qUR9Vc_EJsigZ72InoaC3Nzbi3WQKgopMVUSgW/s200/984162.jpg

การละเล่นพื้นบ้านของภาคกลาง
ชื่อ  ว่าว
ภาค  ภาคกลาง
จังหวัด  กรุงเทพมหานคร
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
ว่าวโดยทั่วไปมีโครงสร้างประกอบด้วยไม้ไผ่สีสุก นำมาผ่าแล้วเหลา ให้ได้ตามที่ต้องการแล้วนำมาประกอบกันให้เป็นรูปทรงต่าง ๆ ผูกติดกันด้วยเชือกโยงยึดกัน เป็นโครงสร้างและปิดด้วยกระดาษชนิดบางเหนียว เช่น กระดาษสาและตกแต่งลวดลายด้วยจุด หรือดอกดวงเพื่อปิดยึดกระดาษกับเชือกให้แน่นว่าวที่นิยมกันคือ
ว่าวจุฬา ซึ่งมีโครงสร้างประกอบด้วยไม้ไผ่สีสุก ๕ ชิ้น มีจำปา ๕ ดอก ทำด้วยไม้ไผ่ยาว ๘ นิ้ว เหลากลมโตประมาณ ๓ มิลลิเมตร จำปา ๑ ดอกมีจำนวนไม้ ๘ อัน มัดแน่นกับสายป่านที่ชักว่าวจุฬาอันเป็นอาวุธที่ใช้ต่อสู้กับปักเป้า
ว่าวปักเป้า มีโครงสร้างประกอบด้วยไม้ไผ่สีสุกเหลากลม ๒ ชิ้น มีเหนียงเป็นเชือกยาว ๘ เมตร ผูกปลายทั้ง ๒ ข้าง ให้หย่อนเป็นสายรูปครึ่งวงกลมเพื่อคล้องตัวว่าวจุฬาให้เสียสมดุลจนตกลงพื้นดิน
ว่าวหง่าว ทำด้วยโครงไม้ไผ่ปิดกระดาษสา ลำตัวตอนบนมีรูปคล้ายอกว่าวจุฬามีเอวคอดและท่อนล่างกว่าท่อนบน ตอนส่วนหัวมีไม้ไผ่เหลาและขึงเชือกเหมือนคันธนู ส่วนขึงเชือกนี้จะเกิดเสียงเมื่อต้องลม เสียงนี้ช่วยกำจัดความชั่วร้ายได้
ปัจจุบันว่าวที่มีการเล่นกันโดยทั่วไปได้มีการพัฒนารูปแบบการเล่นเพื่อความสวยงาม โดยทำว่าวให้เป็นรูปแบบที่แปลกแตกต่างกันออกไปเป็นรูปสัตว์ต่างๆ เช่น ว่าวงู ว่าวผีเสื้อ ฯลฯ
วิธีการเล่น มีอยู่ ๓ วิธี คือ
๑. ชักว่าวให้ลอยลมปักอยู่กับที่ เพื่อดูความสวยงามของว่าวรูปต่าง ๆ
๒. บังคับสายชักให้เคลื่อนไหวได้ตามต้องการ นิยมกันที่ความสวยงาม ความสูง และบางทีก็คำนึงถึงความไพเราะของเสียงว่าวอีกด้วย
๓. การต่อสู้ทำสงครามกันบนอากาศ คือ การแข่งขันว่าวจุฬาและปักเป้าคว้ากันบนอากาศ จะจัดให้มีการแข่งขันกันที่บริเวณท้องสนามหลวงกำหนดแดนขณะทำการแข่งขัน ว่าวปักเป้าจะขึ้นอยู่ในแดนของตน ล่อหลอกให้ว่าวจุฬามาโฉบเพื่อจะลากพามายังดินแดนของตน โดยให้ว่าวปักเป้าติดตรงดอกจำปาที่ติดไว้ เมื่อติดแน่นดีแล้วว่าวจุฬาจะรีบลากรอกพามายังดินแดนของตน ขณะเดียวกันว่าวปักเป้าก็จะพยายามใช้เหนียงที่เป็นเชือกป่านคล้องตัวว่าวจุฬาให้เสียสมดุลและชักลากดึงให้ตกลงมายังดินแดนของตน ในการเล่นว่าวจุฬาลากพาว่าวปักเป้าเข้ามาทีละตัวหรือหลายตัวก็ได้ ถ้าต่างฝ่ายต่างนำคู่แข่งขันมาตกยังดินแดนของตนเองได้ ก็ถือว่าเป็นฝ่ายชนะแต่ถ้าขณะชักลากพามา ว่าวปักเป้าขาดลอยไปได้ถือว่าไม่มีฝ่ายใดได้คะแนน
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
การเล่นว่าวต้องอาศัยกระแสลมเป็นสำคัญ กระแสลมที่แน่นอนจะช่วยให้เล่นว่าวได้สนุก จึงมักจะเล่นกันในราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ซึ่งถึงว่าเป็นช่วงที่ลมพัดแรงกระแสลมสม่ำเสมอที่เราเรียกกันว่า ลมว่าว
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
การแข่งขันว่าวเป็นกีฬาซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของไทยอย่างหนึ่ง เป็นศิลปะที่ต้องใช้ความสามารถของผู้ทำว่าวและผู้ชักว่าวเป็นอย่างมากต้องใช้ความประณีต ความแข็งแรง ความมีไหวพริบ และข้อสำคัญต้องอาศัยความพร้อมเพรียงด้วย
นอกจากนั้น ได้มีการนำลักษณะของว่าวมาใช้พูดเป็นสำนวนเพื่อเปรียบเทียบกับคน เช่น ว่าวขาดลอยหมายถึง การเคว้งคว้างไร้ที่ยึดเหนี่ยว ว่าวติดลมหมายถึง ว่าวที่ลอยกินลมอยู่กลางอากาศ (สำนวน) เพลินจนลืมตัว

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEivhaBj4gFHL0RqapbDS1Uf6AMoo9W43keLMdSrSsmBY9p9qH80NCFTry7qxqqJaO5pop87O_hiy1Eo0PwMKR-QEUURnjRnxeT1guO0nqoRdVzDM8cxc1E73z_Xc8n4AUYN-6B_obX5FDA_/s200/chuk1.jpg

การละเล่นพื้นบ้านของภาคใต้
ชื่อ  ชักกะเย่อ
ภาค  ภาคใต้
จังหวัด  พังงา
อุปกรณ์และวิธีเล่น
เชือกเส้นใหญ่ๆ ๑ เส้น สำหรับจับดึงกัน


วิธีเล่น
จัดคนเล่นออกเป็น ๒ พวก ให้มีกำลังพอๆ กัน เมื่อแบ่งพวกเสร็จแล้ว ให้ไปอยู่คนละข้างของไม้หรือเชือกนั้น ให้คนหัวแถวจับก่อนข้างละคน นอกนั้นให้จับเอวกันตลอดทั้งสองข้าง เมื่อให้สัญญาณแล้วต่างฝ่ายก็ลงไปข้างหลังทุกคนระเบียบการตัดสิน ใช้ตัดสินกันเองหรือให้มีผู้ตัดสิน ๑ คน ยืนตรงกลางให้สัญญาณและตัดสินได้ เพื่อให้รู้แน่ว่าฝ่ายใดแพ้ชนะจะปักธงไว้ตรงกลางก็ได้ ฝ่ายใดถูกดึงเลยเขตได้หมดตั้งแต่หนึ่งศอกขึ้นไปนับเป็นแพ้ เมื่อแพ้แล้วไม่มีปรับให้ร้องรำอย่างใดเลย
โอกาสที่เล่น
เล่นแข่งขันในงานกิจกรรมต่างๆ หรือในเทศกาลพิเศษ
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
เพื่อออกกำลังและรับความรื่นเริงในเมื่อแพ้ชนะกันเท่านั้น

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEimD7LLY0BUafg86p9WZ8EgO6PaD0pthO8LhNVEBdom7Ivswes-o91POH8n2z-TmFqc464QroDPvHF6WDPvifqRtyERBtnlQnqY_jtQ6Ll_0sKd2odlOZxs2vioZgogn0yRSei9N0Li9EYR/s200/image026.jpg

การละเล่นพื้นบ้านของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อ  แข่งเรือบก
ภาค  ภาคตะวันออกเฉีบงเหนือ
จังหวัด  ชัยภูมิ
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
ไม้กระดาน ๒ แผ่น ยาวประมาณ ๑ วาเศษ พร้อมเชือกที่จะใช้รัดหลังเท้าติดกับไม้
วิธีการเล่น ผู้เล่นแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ละ ๒-๕ คน โดยจะรัดเท้าทั้ง ๒ ข้าง ไว้กับกระดาน ๒ แผ่น มือจับเอวหรือจับไหล่ของผู้ที่อยู่ข้างหน้า อาศัยความพร้อมเพรียงจะยกเท้าซ้ายพร้อม ๆ กัน ดันไม้กระดานไปข้างหน้า กลุ่มใดถึงเส้นชัยก่อนถือว่าชนะ
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
ส่วนใหญ่จะเล่นในเทศกาลสงกรานต์
คุณค่า / แนวคิด / สาระ
นอกจากจะเป็นการออกกำลังขาแล้วยังสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ สร้างความสนุกสนาน การแข่งเรือบกจะเล่นกันในพื้นที่ ๆ ไม่มีแม่น้ำไหลผ่าน

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEhDKhMxxfQYjhMxtKVqYsOF_bROK7KS8j4-14S0dk3nwvE-8NPE7EXFFlWHnvoPvDMIEhnn7tOltXz-7ehu0qEhXzIKVbzl5x7Dt1K7Va7Gn2kpEmRmL5qdEL-loiVGPhqJ5MkhHrMYi4n0/s200/mn.png.jpg

การละเล่นพื้นบ้านของภาคเหนือ
ชื่อ  ม้าจกคอก
ภาค  ภาคเหนือ
จังหวัด  กำแพงเพชร
การเล่นม้าจกคอก ภาคกลางเรียก ลาวกระทบไม้ การเล่นชนิดนี้เข้าใจว่าอาจจะได้รับอิทธิพลมาจากการละเล่นของชาวลัวะ
อุปกรณ์และวิธีเล่น
จำนวนผู้เล่น ตั้งแต่ ๓ คนขึ้นไป
อุปกรณ์
๑. ไม้กลมขนาดกำรอบ ยาวประมาณ ๕ ศอก จำนวน ๒ ท่อน
๒. ขอนไม้สูงประมาณ ๑ คืบ ยาวประมาณ ๑-๒ ศอก จำนวน ๒ ท่อน
สถานที่เล่น เล่นบริเวณที่เป็นลานกว้าง
วิธีการเล่น
๑. แบ่งผู้เล่นออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายแรกมี ๒ คน สำหรับถือท่อนไม้ที่วางขนานบนขอนไม้ แล้วกระทบกันเป็นจังหวะ ส่วนฝ่ายที่ ๒ มี ๒ คนขึ้นไป สำหรับเป็นผู้เต้น
๒. ให้ผู้เล่นเข้าไปอยู่ระหว่างคาน ผู้ถือไม้คานทั้งคู่ก็ทำสัญญาณ โดยยกคานไม้ทั้งคู่กระแทกลงบนไม้หมอน ระหว่างที่เคาะจังหวะอยู่นั้นผู้เล่นต้องเต้นไปด้วย เมื่อให้สัญญาณเคาะ ๓ ครั้งแล้ว ครั้งที่ ๔ ผู้ถือจะเอาคานทั้งสองเข้าชิดกัน ผู้เต้นจะต้องกระโดดให้สูงกว่าครั้งแรกของจังหวะและแยกขาออกให้พ้นไม้ ถ้าถูกหนีบเรียกว่า ม้าขำคอก หรือม้าติดคอก คู่ที่ถูกไม้หนีบจะต้องออกไปเปลี่ยนให้ผู้ที่ถือคานอยู่เดิมนั้นเข้ามาเต้นในระหว่างคานนั้นบ้าง
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
การเล่นม้าจกคอกนิยมเล่นในวันขึ้นปีใหม่ (สงกรานต์) ของล้านนา
สาระ
การเล่นม้าจกคอก เป็นการละเล่นเพื่อให้ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ทำให้เกิดความสามัคคีภายในกลุ่มและความมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน


https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEgeSKCdI8pmaoHCXMgh5g4iS7RXCJ0Trl3mKvXMSU12VH7bg1Y4Xu4a4ZIP8AYgQGt9vTZXUQYVGO7TEL5wHqgzlh2buloJjtCXY11UVXUPDjWlLPxjHR3xD9DjuXIEJgH6PxMB6w8rhyEg/s200/%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%9A.jpg
การละเล่นพื้นบ้านของภาคกลาง
ชื่อ  ตี่จับ
ภาค  ภาคกลาง
จังหวัด  กรุงเทพมหานคร
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
การเล่นตี่จับต้องแบ่งผู้เล่นออกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายละเท่า ๆ กัน มีเส้นแบ่งเขตตรงกลาง ต้องตกลงกันว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายรุกไปก่อน คนหนึ่งที่เป็นฝ่ายรุกจะเริ่มข้ามเขต พอเข้าเขตฝ่ายตรงข้ามก็ต้องร้อง ตี่ไม่ให้ขาดเสียง แล้ววิ่งเอามือแตะตัวคนใดคนหนึ่งในฝ่ายรับ แต่จะหยุดหายใจไม่ได้ ในขณะที่ร้อง ตี่นั้น ฝ่ายรับก็จะพยายามจับคนที่ร้อง ตี่ไว้ ถ้าคนร้อง ตี่เห็นว่าจะสู้ไม่ได้หรือจะต้องถอนหายใจ ต้องรีบถอยมาให้พ้นเส้นแบ่งเขต ถ้าถอยไม่ทันผู้ร้อง ตี่หยุดถอนหายใจก็จะต้องถูกจับตัวไว้เป็นเชลย แต่ถ้าคนที่ร้อง ตี่แตะตัวฝ่ายรับได้ คนที่ถูกแตะก็เป็นเชลยฝ่ายนี้ ฝ่ายที่ได้เชลยก็จะส่งคนร้อง ตี่ไปแตะคนที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามอีก ถ้ายังจับไม่ได้ก็ผลัดกันรุกคนละครั้ง จนกว่าจะกวาดเชลยได้หมดก็ขึ้นตาใหม่
โอกาสหรือเวลาที่เล่น
มักจะเล่นในเวลาว่างจากภารกิจทั้งปวง เช่น เวลาพักหลังเลิกเรียน หรือภายหลังจากทำงานบ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว
คุณค่า/แนวคิด/สาระ
การเล่นตี่จับเป็นการฝึกการใช้กำลัง ฝึกความว่องไว และความอดทน นอกเหนือไปจากความสนุกสนานเพลิดเพลิน

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg5rgqAgvIPXSQ2EqczcM432p2fSknXbjbKh2kFa1pIkaTyA57b4DEV9LGSXbVbYkP4FwtvDpFmgqg91F0WXh7bsnvNQQ_SqxncVOMtw6M7T7S6Qb7AJni1fDUoSUawKBTJAMt0nhTrxbOr/s200/Scr001024.jpg

การละเล่นพื้นบ้านของภาคใต้
ชื่อ  หมากขุม
ภาค  ภาคใต้
จังหวัด  นครศรีธรรมราช
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์ในการเล่น
๑). รางหมากขุม เป็นรูปเรือทำจากไม้ ยาวประมาณ ๑๓๐ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๒๐ เซนติเมตร มีหลุมเรียงเป็น ๒ แถว หลุมกว้างประมาณ ๗ เซนติเมตร ลึกประมาณ ๔ เซนติเมตร มีด้านละ ๗ หลุม เรียกหลุมว่า เมือง หลุมที่อยู่ปลายสุดทั้งสองข้างเป็นหลุมใหญ่กว้างประมาณ ๑๑ เซนติเมตร เรียกว่า หัวเมือง
๒) ลูกหมาก นิยมใช้ลูกสวดเป็นลูกหมาก ใส่ลูกหมากหลุมละ ๗ ลูก จึงต้องใช้ลูกหมาก ในการเล่น ๙๘ ลูก
๓) ผู้เล่นมี ๒ คน
วิธีการเล่น
๑) ผู้เล่นนั่งคนละข้างกับรางหมากขุม แต่ละคนใส่ลูกหมากหลุมละ ๗ ลูก ทั้ง ๗ หลุม ส่วนหลุมหัวเมืองไม่ต้องใส่ให้เว้นว่างไว้
๒) การเดินหมาก ผู้เล่นจะเริ่มเดินพร้อมกันทั้ง ๒ ฝ่าย เรียกว่า แข่งเมือง โดยหยิบลูกหมากจากหลุมเมืองของตนหลุมใดก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะหยิบหลุมสุดท้ายของฝ่ายตนเอง เพราะคำนวนว่าเม็ดสุดท้ายจะถึงหัวเมืองของตนพอดี การเดินหมากจะเดินจากขวาไปซ้าย โดยใส่ลูกหมากลงในหลุม ถัดจากหลุมเมืองที่หยิบลูกหมากขึ้นมาเดิน ใส่ลูกหมากหลุมละ ๑ เม็ด รวมทั้งใส่หลุมหัวเมืองฝ่ายตนเอง แล้ววนไปใส่หลุมของฝ่ายตรงกันข้าม ยกเว้นหลุมหัวเมือง เมื่อเดินลูกหมากเม็ดสุดท้ายใส่ในหลุม ให้หยิบลูกหมากทั้งหมดในหลุมนั้นขึ้นมาเดินหมากต่อไป โดยใส่ในหลุมถัดไป เล่นเดินหมากอย่างนี้จนลูกหมากเม็ดสุดท้ายหมดลงในหลุมที่เป็นหลุมว่าง ถือว่าหมากตาย ถ้าเดินหมากตายในหลุมเมืองของฝ่ายตรงข้ามก็ถือว่าสิ้นสุดการเดินหมาก แต่ถ้า
ตายในหลุมเมืองฝ่ายตนเอง ให้ผู้เล่นกินหมากหลุมเมืองซึ่งอยู่ตรงข้ามกับหลุมที่เราเดินหมากมาตาย โดยควักลูกหมากทั้งหมดในหลุมไปไว้ในหลุมหัวเมืองของฝ่ายตน เรียกว่ากินแทน เล่นอย่างนี้จนหลุมเมืองของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหมดลูกหมาก เดินต่อไปไม่ได้ ลูกหมากทั้งหมดจะไปรวมอยู่ในหลุมหัวเมืองของทั้ง ๒ ฝ่าย จึงเริ่มเล่นรอบใหม่ต่อไป
๓) การเดินหมากรอบสอง ผู้เล่นจะผลัดกันเดินทีละคน ทำเช่นเดียวกับการเดินรอบแรก นำลูกหมากจากหลุมหัวเมืองฝ่ายตนเองใส่ลงในหลุม ๆ ละ ๗ ลูก ในฝ่ายของตนเอง คราวนี้แต่ละฝ่ายจะมีลูกหมากไม่เท่ากัน ฝ่ายที่มีลูกหมากมากกว่าจะเป็นผู้เดินหมากก่อน ฝ่ายที่มีลูกหมากน้อยกว่าจะใส่ไม่ครบทุกหลุม หลุมใดมีไม่ครบให้นำลูกหมากที่เหลือไปใส่ในหลุมหัวเมืองฝ่ายตน หลุมใดไม่มีลูกหมากเรียกว่า เมืองหม้าย ตามปกติหลุมเมืองหม้ายจะปล่อยไว้หลุมปลายแถว หลุมเมืองหม้ายจะไม่ใส่ลูกหมาก ถ้าฝ่ายใดใส่จะถูกริบเป็นของฝ่ายตรงกันข้าม ในกากรเล่นจะเล่นจนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหมดลูกหมากเดินต่อไปไม่ได้และจะนับเมืองหม้าย ใครมีจำนวนเมืองหม้ายมากกว่าฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายแพ้
โอกาสหรือเวลาในการเล่น
การเล่นหมากขุมจะเล่นในยามว่างจากการงาน เล่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เป็นพักผ่อนหย่อนใจ จึงเล่นได้ทั้งวัน

คุณค่า สาระ แนวคิด
๑. การเล่นหมากขุม มีคุณค่าในการฝึกลับสมอง การวางแผนการเดินหมากจะต้องคำนวน จำนวนลูกหมากในหลุม ไม่ให้หมากตาย และสามารถกลับมาหยิบลูกหมากในหลุมของตนเองได้อีก ผู้เดินหมากขุมจึงต้องมีสายตาว่องไว คิดเลขเร็ว เป็นการฝึกวิธีคิดวางแผนจะหยิบหมากในหลุมใดจึงจะชนะฝ่ายตรงกันข้าม เป็นการฝึกให้ผู้เล่นรู้จักคิดวางแผนในการทำงานทุกอย่างสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
๒. เป็นการพักผ่อนหย่อนใจ นันทนาการภายในบ้าน ภายในชุมชน ให้ทั้งความสนุกสนาน และความใกล้ชิดระหว่างพี่น้อง ญาติมิตร
๓. ก่อให้เกิดการประดิษฐ์รางหมากขุม ที่มีความสวยงามและประณีต เป็นความภาคภูมิใจของผู้สร้างชิ้นงาน และยังสามารถสร้างรายได้ในการจำหน่ายรางหมากขุม
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg-5bZXWagiKtl15hUS2wLnZJC4T97J-WIfHnZxdE8sg2p12OoTMgYRjal5NUvXzPrl0ciFWn_BUyR34fDk2Qag0YJZ3USSuSlEqwBdp9oM-hQq9kJrMWaYFQb8mPwaYjwof4vdbpJzLb_A/s200/FriJune2008234318_wakeup27_bae03.jpg


การละเล่นพื้นบ้านของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อ   วิ่งขาโถกเถก
ภาค  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัด  ชัยภูมิ
อุปกรณ์และวิธีการเล่น
อุปกรณ์ ไม้ไผ่กิ่ง ๒ ลำ ถ้าไม่มีก็เจาะรูแล้วเอาไม้อื่นๆ สอดไว้เพื่อให้เป็นที่วางเท้าได้
วิธีการเล่น ผู้เล่นจะเลือกไม้ไผ่ลำตรง ๆ ที่มีกิ่ง ๒ ลำที่กิ่งมีไว้สำหรับวางเท้าต้องเสมอกันทั้ง ๒ ข้าง ผู้เล่นขึ้นไปยืนบนแขนงไม้เวลาเดินยกเท้าข้างไหนมือที่จับลำไม้ไผ่ก็จะยกข้างนั้น ส่วนมากเด็ก ๆ ที่เล่นมักจะมาแข่งขันกัน ใครเดินได้ไวและไม่ตกจากไม้ถือว่าเป็นผู้ชนะ
โอกาสที่เล่น
การวิ่งขาโถกเถก ถือเป็นการละเล่นที่เล่นได้ทุกโอกาส โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสงกรานต์
คุณค่า / แนวคิด / สาระ
นอกเหนือจากความสนุกสนานแล้ว ยังเป็นเครื่องมือในการออกกำลังกาย บริหารส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้เป็นอย่างดี เดิมผู้ที่ใช้ขาโถกเถกเป็นชายหนุ่มไปเกี้ยวสาว เสียงเดินจากไม้เมื่อสาวได้ยินก็จะมาเปิดประตูรอเพื่อพูดคุยกันตามประสาหนุ่มสาว หรือบ้านสาวเลี้ยงสุนัขไม้โถกเถกยังเป็นอุปกรณ์ไล่สุนัขได้ด้วย

บทที่  3  วิธีการดำเนินงาน
การละเล่นพื้นบ้านไทย
ในการจัดสร้างการละเล่นพื้นบ้านของไทย จำเป็นจะต้องศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้องดังนี้
1.ต้องรู้จุดประสงค์ในการทำงาน
2.ต้องศึกษารายละเอียดของโครงงานอย่างรอบคอบ
3.ต้องมีความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
วิธีดำเนินการ
ขั้นเตรียม
-เตรียมหัวข้อที่จะศึกษาค้นคว้า
-ศึกษารายละเอียดของการละเล่นพื้นบ้านไทย
ขั้นดำเนินการ
-ศึกษาการทำเว็บไซด์
-ตกแต่งภาพเพื่อนำไปใช้ประกอบบนเว็บไซด์
-หาหัวข้อเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านของไทย
-หาตัวอย่างเกี่ยวกับการละเล่นพื้นบ้านของไทย
-ประวัติผู้ทำเว็บ

      การละเล่นของไทยในสมัยก่อนนั้นมีวิธีการเล่นที่สนุกสนาน และหลากหลายการละเล่นของเด็กไทยในสมัยก่อนนั้นที่สืบทอดมาจากรุ่นก่อนบางประเภทก็มีบทร้อง ท่าทางประกอบ ข้อตกลงในการเล่นในแต่ละท้องถิ่นบางครั้งก็เล่นตามความสนุกสนานร่าเริง แต่บางครั้งก็เล่นเพื่อการแข่งขันซึ่งได้รับความบันเทิงจากการละเล่นเป็นอย่างมาก 




เล่นซ่อนหา หรือ โป้งแปะ

           "
เล่นซ่อนหา" หรือ "โป้งแปะ" เป็นหนึ่งในการละเล่นพื้นบ้านที่มีมาช้านาน และยังได้รับความนิยมอยู่ทุกยุคทุกสมัย เพราะกติกาง่าย แถมสนุก และต้องมีการกำหนดอาณาเขต เพื่อไม่ให้กว้างจนเกินไป จนถึงวันนี้ก็ยังมีเด็ก ๆ จับกลุ่มกันเล่นซ่อนหาให้เห็นกันอยู่ 

          
โดยกติกาก็คือ คนที่เป็น "ผู้หา" ต้องปิดตา และให้เพื่อน ๆ ไปหลบหาที่ซ่อน โดยอาจจะนับเลขก็ได้ ส่วน "ผู้ซ่อน" ในสมัยก่อนจะต้องร้องว่า "ปิดตาไม่มิด สาระพิษเข้าตา พ่อแม่ทำนาได้ข้าวเม็ดเดียว" แล้วแยกย้ายกันไปซ่อน เมื่อ "ผู้หา" คาดคะเนว่าทุกคนซ่อนตัวหมดแล้ว จะร้องถามว่า "เอาหรือยัง" ซึ่งเมื่อ "ผู้ซ่อน" ตอบว่า "เอาล่ะ" "ผู้หา" ก็จะเปิดตาและหาเพื่อน ๆ ตามจุดต่าง ๆ เมื่อหาพบจะพูดว่า "โป้ง..(ตามด้วยชื่อผู้ที่พบ)" ซึ่งสามารถ "โป้ง" คนที่เห็นในระยะไกลได้ จากนั้น "ผู้หา" จะหาไปเรื่อย ๆ จนครบ ผู้ที่ถูกหาพบคนแรกจะต้องมาเปลี่ยนมาเป็น "ผู้หา" แทน แต่หากใครซ่อนเก่ง "ผู้หา" หาอย่างไรก็ไม่เจอสักที "ผู้ซ่อน" คนที่ยังไม่ถูกพบสามารถเข้ามาแตะตัว "ผู้หา" พร้อมกับร้องว่า "แปะ" เพื่อให้ "ผู้หา" เป็นต่ออีกรอบหนึ่งได้

           
ประโยชน์จากการเล่นซ่อนหา ก็คือ ฝึกให้เป็นคนช่างสังเกต สามารถจับทิศทางของเสียงได้ รวมทั้งรู้จักประเมินสถานที่ซ่อนตัว จึงฝึกความรอบคอบได้อีกทาง นอกจากนี้ยังทำให้ผู้เล่นสนุกสนาน อารมณ์แจ่มใจเบิกบานไปด้วย
 


มอญซ่อนผ้า

           
การละเล่นแสนสนุกที่ทำให้ผู้เล่นได้ลุ้นไปด้วย โดยใช้อุปกรณ์เพียงแค่ผ้าผืนเดียวเท่านั้น แล้วให้ผู้เล่นเสี่ยงทาย ใครแพ้คนนั้นต้องเป็น "มอญ" ส่วนคนอื่น ๆ มานั่งล้อมวง คนที่เป็น "มอญ" จะต้องถือผ้าไว้ในมือแล้วเดินวนอยู่นอกวง จากนั้นคนนั่งในวงจะร้องเพลงว่า "มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง ไว้โน่นไว้นี่ ฉันจะตีก้นเธอ" 

          
ระหว่างเพลงร้องอยู่ คนที่เป็น "มอญ" จะแอบทิ้งผ้าไว้ข้างหลังผู้เล่นคนใดคนหนึ่ง แต่เมื่อทิ้งผ้าแล้ว จะแกล้งทำเป็นยังไม่ทิ้ง โดยเดินวนไปอีก 1 รอบ หากผู้ที่ถูกทิ้งผ้าไม่รู้ตัว "มอญ" จะหยิบผ้ามาตีหลังผู้เล่นคนนั้น แล้วต้องกลายเป็น "มอญ" แทน แต่หากผู้เล่นรู้ตัวว่ามีผ้าอยู่ข้างหลัง ก็จะหยิบผ้ามาวิ่งไล่ตี "มอญ" รอบวง "มอญ" ต้องรีบกลับมานั่งแทนที่ผู้เล่นคนนั้น แล้วผู้ที่วิ่งไล่ต้องเปลี่ยนเป็น "มอญ" แทน




 
เดินกะลา

          
ดูจะเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่หาดูได้ไม่บ่อยนัก แต่หากเป็นสมัยก่อนจะเห็นเด็ก ๆ เดินกะลา กันทั่วไป โดยผู้เล่นจะต้องนำกะลามะพร้าว 2 อันมาทำความสะอาดแล้วเจาะรูตรงกลาง ร้อยเชือกให้แน่น เพื่อป้องกันไม่ให้เชือกหลุดเวลาเดิน เวลาเดินให้ใช้นิ้วหัวแม่เท้ากับนิ้วชี้คีบเชือกเอาไว้แล้วเดิน หากมีเด็ก ๆ หลายคนอาจจัดแข่ง เดินกะลา ได้ด้วยการกำหนดเส้นชัยไว้ใครเดินถึงก่อนก็เป็นผู้ชนะไป 

           
ประโยชน์ของการ เดินกะลา ก็คือช่วยฝึกการทรงตัว ความสมดุลของร่างกาย เพราะต้องระวังไม่ให้ตกกะลา ช่วงแรก ๆ อาจจะรู้สึกเจ็บเท้า แต่ถ้าฝึกบ่อย ๆ จะชินและหายเจ็บไปเอง แถมยังทำให้ร่างกายแข็งแรง เพลิดเพลินอีกด้วย


 
กาฟักไข่

           
เป็นอีกหนึ่งการละเล่นที่เคยได้ยินชื่อ แต่หลายคนไม่ทราบกติกา โดยวิธีการเล่นก็คือ ใช้อะไรก็ได้ลักษณะกลม ๆ เท่าจำนวนคนเล่น ยกเว้นผู้ที่เป็นกา 1 คน มาสมมติว่าเป็น "ไข่" แล้วเขียนวงกลมลงบนพื้น 2 วง วงแรกเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 ฟุต และอีกวงหนึ่งอยู่ข้างในวงแรก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 ฟุต วาง "ไข่" ทั้งหมดไว้ในวงกลมเล็ก ให้คนใดคนหนึ่งเป็นกา ยืนในวงกลมวงใหญ่ หรือนั่งคร่อมวงกลมเล็ก นอกนั้นทุกคนยืนรอบนอกวงกลมวงใหญ่ คอยแย่งไข่ คนเป็นกามีหน้าที่ป้องกันไข่ ไม่ให้ถูกแย่งไป

          
กติกาของ กาฟักไข่ ก็คือคนข้างนอกต้องแย่งไข่มาให้ได้ โดยใช้แขนหรือมือเอื้อมเข้าไป แต่ห้ามนำตัวเข้าไปในวงกลม และต้องระวังไม่ให้อีกาถูกมือหรือแขนได้ด้วย หากแย่งไข่ออกมาได้หมดแล้ว ให้ปิดตากา แล้วนำไข่ทั้งหมดไปซ่อน เพื่อให้กาตามหาไข่ หากพบไข่ที่ผู้เล่นคนใดนำไปซ่อน ผู้นั้นจะต้องเปลี่ยนมาเป็นกาแทน
                  
บทที่ 4 ผลการดำเนินงาน

-เป็นการปลูกจิตสำนึกให้เยาวชนรักการละเล่นพื้นบ้านของไทย
-ทำให้ผู้คนรู้จักการละเล่นของไทยมากยิ่งขึ้น
-เกิดความภาคภูมิใจในการละเล่นพื้นบ้านของไทย
1.ความหมายของการละเล่นพื้นบ้านไทย
      การละเล่นของไทย หมายถึง การเล่นตั้งเดิมของเด็กและผู้ใหญ่ เพื่อความบันเทิงใจทั้งนี้เป็นการเล่นที่มีกติกาหรือไม่มีกติกา ไม่มีบทร้องประกอบหรือมีบทร้องประกอบให้จัง-หวะ บางทีก็มีท่าเต้น ท่ารำประกอบ เพื่อให้งดงามและสนุกสนานยิ่งขึ้น ทั้งผู้เล่นและผู้ชมมีส่วนร่วมสนุก (ไม่ครอบคลุมไปถึงการละเล่นที่เป็นการแสดงให้ชมโดยแยกผู้เล่นและผู้ดูออ กจากกันด้วยการจำกัดเขตผู้ดู หรือการสร้างเวทีสำหรับผู้เล่น เป็นต้น) 

2.รู้จักการละเล่นไทยเพิ่มมากขึ้น
เช่น ทอยเส้น
        
หากย้อนไปสักปี พ.ศ.2510-2530 ทอยเส้นจะเป็นที่นิยมกับเด็ก ๆ อย่างมาก โดยอุปกรณ์การเล่นจะใช้ตัวตุ๊กตุ่นพลาสติกหรือยาง ขนาดความสูง 4-5 เซนติเมตร  (ที่แถมมากับขนมอบกรอบซึ่งฮิตมากในยุคนั้น) มาใช้ทอย และต้องมีพื้นถนนที่มีเส้นรอยต่อระหว่างบล็อก ระยะห่างประมาณ 3-5 เมตร หรือใช้การขีดลากเส้น 2 เส้นแทนก็ได้

          
วิธีการเล่นทอยเส้น คือต้องเสี่ยงหาคนทอยก่อน โดยใช้วิธีเป่ายิงฉุบ โอน้อยออก ฯลฯ แล้วแต่จะเลือก หรือจะทอยเปล่า เพื่อดูว่าใครใกล้-ไกลเส้นมากกว่า คนที่ไกลเส้นที่สุดจะต้องเริ่มทอยก่อน เพราะจะเสียเปรียบที่สุด ส่วนคนที่ทอยทีหลังจะได้เปรียบ เพราะเลือกหาทางหนีทีไล่ได้ดีกว่า

          
เมื่อกำหนดลำดับผู้เล่นแล้ว ให้ผู้เล่นยืนจรดเท้าอยู่เส้นแรก ห้ามล้ำเส้นออกไป แล้วใช้แขนเหวี่ยงตุ๊กตุ่นในมือออกไป ให้ตก หรือทับเส้นที่สอง เมื่อทอยครบทุกคน ให้เปรียบเทียบ ตุ๊กตุ่นของใครใกล้เส้นที่สุดเป็นผู้ชนะ จากนั้น ผู้ชนะจะยืนที่ตำแหน่งตุ๊กตุ่นของตัวเอง แล้วใช้ตุ๊กตุ่นของตัวเองเอื้อม หรือปาไปให้โดนตัวอื่นที่อยู่ห่างเส้นในลำดับถัดไป เพื่อจะได้กิน (ครอบครอง) ตุ๊กตุ่นตัวนั้นไว้ หากกินได้ ผู้เล่นคนอื่นจะถูกลงโทษตามตกลง เช่น ดีดมะกอก ฯลฯ เมื่อจบรอบแรก ก็หันหลังกลับ ยืนจรดเส้นที่สอง แล้วทอยกลับไปให้ใกล้เส้นแรกมากที่สุด ด้วยกติกาเช่นเดิม โดยดูแล้วมีลักษณะคล้ายการเล่นทอยเหรียญ หรือ Pitch and Toss ของต่างประเทศ

    3.การเล่นในชีวิตประจำวันสมัยก่อน
1.การละเล่นในชีวิตประจำวัน แบ่งเป็น 
1.1.
การละเล่นของเด็ก ซึ่งจะแยกออกเป็นการเล่นกลางแจ้ง การเล่นในร่ม การเล่นกลางแจ้งและในร่ม การเล่นกลางแจ้งหรือในร่มที่มีบทร้อง การเล่นเลียนแบบผู้ใหญ่ การเล่นใช้อุปกรณ์ การเล่นของเด็กชาย-หญิงโดยเฉพาะ การเล่นสะท้อนสังคม การเล่นในน้ำ การเล่นปริศนาคำทาย บทร้องเล่น 
1.2.
การละเล่นของเด็กและผู้ใหญ่ เช่น ชักเย่อ ลูกช่วง งูกินหาง โค้งตีนเกวียน จ้องเตหรือต้องเต ไม้หึ่ง รีรีข้าวสาร มอญซ่อนผ้า สะบ้า แม่ศรี คล้องช้าง ว่าว 
1.3.
การละเล่นของผู้ใหญ่ มีเพลงเกี่ยวข้าว เพลงร้อยชั่ง เพลงเต้นกำ(รำเคียว) เพลงสงฟาง เพลงสงคอลำพวน เพลงเตะข้าว เพลงชักกระดาน การเล่นตะกร้อ 
2.
การละเล่นในเทศกาลต่างๆ เพลงแห่ดอกไม้ เพลงพิษฐาน เพลงพวงมาลัย เพลงเหย่อยหรือเพลงพาดผ้า
3.
การละเล่นของหลวง ซึ่งมีมาแต่กรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ หมายถึงการละเล่นที่แสดงในพระราชพิธีต่างๆ ไม่เพียงแสดงหน้าที่นั่งในเขตพระราชฐาน ข้างนอกก็แสดงได้ 
เท่าที่ปรากฏในหลักฐานภาษาหนังสือและภาพจิตรกรรมฝาผนัง มีอยู่ 5 อย่าง คือ ระเบ็ง โมงครุ่ม กุลาตีไม้ แทงวิสัย และกระอั้วแทงควาย ผู้เล่นเป็นชายล้วน มีครั้งเดียวในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพ.ศ.2415 โปรดเกล้าฯ ให้ผู้หญิงคือนางเถ้าแก่เล่นระเบ็งแทนชายในงานโสกันต์พระเจ้าน้องยาเธอและพระเจ้าน้องนางเธอ 5 พระองค์ มีปรากฏในพระราชนิพนธ์โคลงดั้นเรื่องโสกันต์ 






บทที่ 5 บทสรุปและข้อเสนอแนะ


    การละเล่นเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ทุกชาติทุกภาษาไม่ว่าจะอยู่ในวัยใดการละเล่นทำให้มนุษยได้ผ่อนคลายความตึงเครียดจากงานในชีวิตประจำวันนอกจากนั้นยังเป็นการเสริมสร้างกำลังกายให้แข็งแรงลับสมองให้มีสติปัญญาแหลมคมมีจิตใจเบิกบานสนุกสนานร่าเริงทั้งยังทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีขึ้นในหมู่มวลมนุษย์การละเล่นมีมาแต่สมัยใดไม่มีใครกำหนดแน่นอนได้เพียงแต่สันนิษฐานกันตามประวัติศาสตร์เท่านั้น   

 ความสำคัญด้านวัฒนธรรม
1. เสริมสร้างพลานามัยให้สมบูรณ์
2.
เสริมสร้างทักษะต่าง ๆ ให้เจริญ เช่น ทักษะในการใช้สายตา สังเกต ทักษะในการเคลื่อนไหวอวัยวะเป็นต้น
3.
ส่งเสริมความเจริญทางด้านจิตใจ โดยปลูกฝังให้มีคุณธรรม อันจำเป็นแก่การเป็นพลเมืองที่ดี
4.
ส่งเสิรมความเจริญทางสติปัญญา เช่น ฝึกให้ใช้ความคิด ฝึกให้มีไหวพริบ ฝึกการคาดคะเนเหตุการณ์ เป็นต้นความสำคัญด้านสังคม
1.
การละเล่นของเด็กไทย สะท้อนให้เห็นสภาพของสังคมไทยในด้านต่าง ๆ เช่น สภาพความเป็นอยู่และอาชีพของชาวบ้านตลอดจนความเชื่อและค่านิยมของคนไทยสมัยโบราณ
2.  
การละเล่นช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพของเด็กทั้งทางกายและจิตใจ ฝึกให้เป็นผู้มีระเบียบวินัย  มีความรับผิดชอบ มีความสามัคคีในหมู่คณะ
ข้อเสนอแนะ
1.เราควรอนุรักษ์การละเล่นของไทยให้อยู่คู่สังคมไทยไปนานๆ
2.เราควรมีความภาคภูมิใจในการละเล่นของไทยเรา
3.เล่นให้ถูกที่ถูกเวลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น